Last updated: 7 ม.ค. 2564 | 424 จำนวนผู้เข้าชม |
"อาลัยหรีด" ขอขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจและให้เราดูแล
ช่องทางการสั่งซื้อ
โทร - 0959563384
LINE : @arw4
วัดช่องนนทรีเป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก หน้าวัดหันไปทางทิศตะวันออกเช่นกัน เพราะเป็นช่วงที่แม่น้ำไหลวกขึ้นเหนือ ตรงข้ามกับบริเวณฝั่งบางกะเจ้า
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือพระอุโบสถฐานเป็นโบสถ์แอ่นท้องสำเภา มีขนาด ๕ ห้อง ๒ มุข ลักษณะคล้ายโบสถ์มหาอุตม์ ด้านหน้าพระอุโบสถทำเป็นมุขเด็จ มีเสาหารรองรับเครื่องบนหลังคาสี่ต้น หน้าบันทำเป็นฝาปะกนไม่สลักลวดลาย หลังคาเป็นลอนมุงกระเบื้องแล้วฉาบปูนติดเชิงชาย ด้านหน้าโบสถ์มีเจดีย์และใบเสมาเรียง-รายกันอยู่
ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ลดหลั่นด้วยพระพุทธรูปสี่องค์ที่จัดวางตำแหน่งได้อย่างน่าชม โดยจัดวางเป็นคู่ๆเยื้องกันออกมา ที่ฐานองค์พระมีลายปูนปั้นที่งดงามเช่นกัน โดยออกแบบขาสิงห์เป็นรูปครุฑได้อย่างสวยงาม
ในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เล่าเรื่องทศชาติชาดก เริ่มตั้งแต่ผนังด้านซ้ายของพระประธาน เวียนอุตราวัตรไปจนคบสิบเรื่อง บริเวณผนังสกัดหน้าเหนือช่องประตูเขียนภาพมารผจญ ภาพเขียนที่วัดช่องนนทรีนี้นับเป็น ภาพเขียนสมัยอยุธยาที่ที่ยังหลงเหลือสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งอาจร่วมสมัยกับภาพเขียนที่วัดปราสาท นนทบุรี
ภาพเขียนชุดนี้เป็นงานจิตรกรรมก่อนรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นยุคที่งานละครหนังใหญ่เจริญรุ่งเรือง ทำให้งานเขียนได้รับแนวทางจากท่าทางของนาฏลักษณ์ ตามการสันนิษฐานของอาจารย์ น ณ ปากน้ำ
ภาพเขียนที่นี่เขียนด้วยเนื้อหาที่สอดแทรกวิถีชีวิต เป็นการเก็บภาพประวัติศาสตร์ผ่านชาดกในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม ศิลปะวัตถุ เครื่องใช้ การแต่งกาย ไปจนถึงภาพขบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค
นอกจากนี้ยังมีการเขียนภาพธรรมชาติ ที่เกิดจากความคิดในอุดมคติ ที่ดูพริ้วไหวมีชีวิตชีวาลงตัวกับองค์ประกอบอื่นๆไปจนถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อย ที่ศิลปินได้สอดแทรกเรื่องราวเอาไว้ได้อย่างลงตัว
ภาพเขียนที่วัดช่องนนทรีถึงแม้จะเป็นภาพเขียนที่ใช้สีน้อยกว่าภาพเขียนในยุคหลัง แต่การจัดวางองค์ประกอบและลายเส้นที่งดงามเป็นธรรมชาติ ก็ทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้อย่างน่าชื่นชม