Last updated: 7 ม.ค. 2564 | 690 จำนวนผู้เข้าชม |
"อาลัยหรีด" ขอขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจและให้เราดูแล
ช่องทางการสั่งซื้อ
โทร - 0959563384
LINE : @arw4
เป็นวัดราษฎร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐ เช่นกัน มีที่ตั้งวัดและที่ธรณีพระสงฆ์ ปัจจุบันมี ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๗๒ ตารางวา ตามใบโฉนดเลขที่ ๓๘๖ เล่ม ๔ หน้าที่ ๘๖ เขตปทมุวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐ ซึ่งประวัติการก่อตั้งสันนิษฐาน คงสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระราชทานวิสุงคามสีมาได้รับพร้อมกับการประกาศสร้างวัดประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๐ หรืออาจก่อนนี้ ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง เดิมมีนามวัดว่า "วัดแค" ต่อมาทางคณะสงฆ์เห็นว่า นามวัดคล้ายกันอยู่หลายวัด จึงเปลี่ยนนามใหม่มาเป็น "วัดดวงแข" เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐
เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗ น.ส. อารยา สุกแจ่มใส และ น.ส. สุวานี สุกแจ่มใส เป็นธิดาของ นายชาญวิน และ นางปรียาจิต สุกแจ่มใส อยู่ซอยลาดพร้าว ๑๓๐ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ได้มีจิตศรัทธามอบถวายที่ดินอยู่ ตืดถนน ตามใบโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๖๓๖ เล่ม ๑๕๗ หน้าที่ ๓๖ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน ๓ ไร่ ๗๓ ตารางวา ให้กับทางวัดดวงแข โดยมี พระครูเขมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดดวงแข เป็นผู้รับมอบโอนจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งสองนั้นเรียบร้อยแล้วอนุโมทนา.
สถานที่และทำเลที่ตั้ง
ตั้งอยู่พื้นที่ราบลุ่มมีถนนเป็นทางสัญจรติดต่อกับวัดได้โดยสะดวก บริเวณวัดได้เทพื้นคอนกรีตทั้งหมด มีกำแพงล้อมรอบ และได้จัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และอาคารเสนาสนะไว้อย่างเป็นสัดส่วน กุฏิสงฆ์มี จำนวน ๗ หลัง แบบทรงไทยประยุกต์ สร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นต้นมา ตามลำดับ เลขที่ตามทะเบียนราษฎร์ ๙๒ ถนนจารุเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการคมนาคมที่สะดวก อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง แค่เพียงระยะทาง ๒๐๐ เมตร ทิศตะวันออกติดกับ ถ. พระราม ๑,ทิศตะวันตกติดกับ ถ. พระราม ๔,ทิศเหนือติดกับสถานีรถไฟหัวลำโพง ถ.เจริญเมือง และศูนย์การสื่อสารกรุงเทพ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และทิศใต้ติดกับ ถ. พระราม ๖ ถ. บรรทัดทอง และโรงเรียนวัดดวงแข การเดินทางมีรถโดยสารที่ผ่านหน้าวัด เช่น รถเมล์สาย ๕๓, ๒๘, ๓๔, ๔๖, ๑๑๓, ปอ. ๒๙, สาย ๗, ๓๔, ๒๐๙, ๗๓ ก.
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
อุโบสถ : มีขนาด กว้าง ๑๓.๒๐ เมตร ยาว ๒๒.๑๐ เมตร ซ่อมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ ไม่มีช่อฟ้าใบบระกา เป็นศิลปะแบบจีนกวางตุ้ง ดัดแปลงบางอย่างให้เข้ากับศิลปะของไทยใช้อิฐก้อนใหญ่หนา ๕๐ เซนติเมตร เป็นวัสดุก่อสร้าง ไม่มีเสารอบนอกมีก่ออิฐหนา ใหญ่ คล้ายเสารับเชิงชาย สันนิฐานว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีนสมัยกรุงศรีอยุธยา สวยงามแบบทรงพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๓ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีหลักฐานการสร้างมานานกว่า ๑๕๑ ปี พระประธานภายในอุโบสถหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทองคำปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖๓ นิ้วมีพุทธลักษณะงดงาม ประดิษฐานชุกชีประดับกระจก ปรากฎจารึกบนฐานบัวหน้าองค์พระปฏิมา ข้อความภาษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ว่า
"ข้าพระพุทธเจ้าพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง นิยมผัวท่านจุ้ยภรรยามีจิตร์ศรัทธาพร้อมใจกันจ้างหม่อมเจ้าสุบรรณปั้นหล่อรูปพระปฏิมากร จงคืนนั้นวันลงมือพลังแด่ ณ วันพฤหัสบดี เดือนเก้า ขึ้นสิบสามค่ำพระพุทธสาศนะกาลล่วงแล้วสองพันสี่ร้อยยี่สิบพรรษา กับสองเดือนเลศวันยี่สิบเจ็ด ชิมแม่นักสัตว์ปัญจศรี เป็นวันปัจจุบันนั้นเทอญ"
ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้พระราชนามว่า "พระพุทธสุวรรณอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง" ซึ่งเป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนภายในแขวงรองเมืองนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมากซึ่งมีผู้คนมาขอพรในโอกาสต่าง ๆ กันมากมาย
ภายจิตรกรรม : ฝาผนังอุโบสถวัดดวงแข เป็นภาพจิตรกรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ของช่างนิรนามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่รับใช้ศาสนาตามประวัติและตำนานเล่าว่า เป็นภาพเหมือนจริงที่มีความสดใส มีภาพพระอสีติจำนวน ๘๐ องค์ ภาพขนบธรรมเนียมประเพณีชาวพุทธในเทศกาลต่าง ๆ และภาพคำสอบปริศนาธรรมในเรื่องผลของกรรม จำนวนมากกว่า ๑๐ ภาพ เป็นภาพที่สดใสและคมชัด ล้วนแต่เป็นสื่อการเรียนรู้พุทธานุภาพ และธรรมานุภาพได้เป็นอย่างดี
วิหาร : เป็นโบราณสถานเก่าแก่ ที่มีอายุพร้อมกับอุโบสถ ภายในวิหารมีพระประธานหน้าตัก ๖๘ นิ้ว สูง ๙๕ นิ้ว ปางมารวิชัยพร้อมด้วยพระโมคัลลานะพระสารีบุตร ที่สร้างด้วยปูน ลงรักปิดทอง มีรอยพระพุทธบาทจำลองเนื้อทองเหลืองยาวประมาณ ๒ เมตร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและมีพระพุทธรูปปางต่อ ๆ ทั้งใหม่และเก่า ขนาดเล็กใหญ่ จำนวนต่างกัน และส่วนที่ชำรุดยังไม่ได้ซ่อมแซมก็มี
พิพิธภัณฑ์ : ตั้งอยู่ในเขตที่พักสงฆ์ ภายในตึกพระวิมลธรรมภาณชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นประวัติของ พระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเชียร บุญมาก) วัตถุประสงค์เพื่อจัดการแสดงเครื่องอัฐบริขารของพระสงฆ์ ประกอบกับพัดยศสมณศักดิ์ชั้นต่าง ๆ พระสงฆ์ พร้อมทั้งใบตราตั้งสมณศักดิ์ขั้นต่าง ๆ ด้วย
สถาปัตยกรรม : ภาพปูนปั้น และลายขอบหน้าต่างของอุโบสถ นาคสมพงษ์หน้าอุโบสถทั้ง ๒ ด้านพร้อมทั้งซุ้มประตูกำแพงแก้ว ๔ ซุ้ม สิงห์โตหินใหญ ๘ ตัว, ตั้งอยู่ข้างทางเข้าออกประตูกำแพงแก้ว ๔ ประตู ขนาดเล็ก ๘ ตัว ตั้งอยู่ที่หัวบันไดทางขึ้นโบสถ์ ๔ บันได มีโคมไฟรูปหงส์คาบดอกบัวพร้อมเสาไฟฟ้าทำด้วยเหล็ก สูง ๔.๙๐ ตั้งข้างกำแพงแก้วรอบอุโบสถ รวม ๒๑ ชุด และบานประตูกำแพงแก้วเป็นรูปลายดอกบัว หล่อด้วยทองเหลือง ทั้ง ๔ ประตู มองดูสวยงามมากขึ้น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ : สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนในชุมชนติดสินบนกันมาก และยอมรับกันทั่วไป บนบานอะไรแล้วจะได้ตามความมุ่งหวัง โดยการตัดสินบนบวชให้ ๙ วันบ้างเลี้ยงเพลพระทั้งวัดบ้าง คือ วิหารอดีต-เจ้าอาวาสทั้ง ๓ องค์ ซึ่งประดิษฐานรวมกันที่ทางเข้ามาวัดในเขตสังฆาวาส, พระประธานในอุโบสถ เจดีย์เก่าแก่ที่คู่มากับวัดเหลืออยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ปรับปรุงซ่อมแซมใหม่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วยแล้ว และร่างของแม่นวลฉวี ที่ไม่เน่า อยู่ในพิพิธภัณฑ์ ที่มุมหลังกำแพงแก้วด้านอุโบสถ ติดกับศาลพระภูมิเจ้าที่ของวัดดวงแข
กิจกรรมการช่วยเหลือสังคม
ฌาปนสถาน : ศาลาการเปรียญและศาลาบำเพ็ญกุศล ปัจจุบันนี่มีจำนวน ๘ หลัง และมีสถานที่จัดตั้งในการบำเพ็ญกุศลศพ ไม่คิดค่าใช่จ่าย ให้กัลศพเอื้ออาทร ญาติน้อย หรือศพญาติที่มีฐานะขัดสน โดยค่าใช่จ่ายแล้วแต่ศรัทธาถวายให้กับทางวัด (โทร. ๐-๒๑๖-๑๓๖๓)
สมาคมฌาปนกิจ : สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์วัดดวงแข เป็นองค์กรส่งเสริมในการช่วยเหลือบำเพ็ญกุศลศพในชุมชน และสมาชิกทั่วไป (๐-๒๒๑๔-๒๗๑๘)
ศูนย์ปฏิบัติธรรม : มีสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เงียบสงบ วันละประมาณ ๑๐๐ กว่าคน แต่ต้องแต่งชุดขาว รับศีล ๘ ในขณะปฏิบัติ เป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๑.๐๐ - ๐๒.๓๐ น.
วัตถุมงคล : เป็นรูปจำลองพระประธานอุโบสถวัดดวงแข ในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย ได้ผ่านการพุทธาภิเษกด้วยพระเกจิอาจารย์ ทั่วประเทศจำนวน ๑๐๐ กว่ารูป ณ อุโบสถวัดดวงแข วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนในการซ่อมแซมอุโบสถ และเป็นทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๖
โรงเรียนพระปริยัติธรรม : เป็นการส่งเสริมให้พระภิกษุ สามเณรบวชมาแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนถึงบริการสอนธรรมะให้กับบุคคลทั่วไป
โรงครัวกลาง : เป็นโรงครัวปรุงอาหารถวายพระภิกษุ-สามเณร และบริการจัดทำอาหาร และเลี้ยงแขกในงานบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยกับทางวัด (โทร. ๐- ๒๒๑๖- ๑๓๖๔)
มูลนิธินวัตกรรมวัฒนธรรมศึกษา (มนว.) : เป็นองค์กรที่สร้างทรัพยากรบุคคล ด้านศิลปวัฒนธรรมเอกลักษณ์ไทย วิถีชีวิตแนวพุทธ จิตรกร ศิลปิน การศึกษาวิจัย และการใช้สื่อสารมวลชนเพื่อประโยชน์สาธารณะในการเผยแพร่งานศิลปะวัฒนธรรม (๐-๒๒๑๙ - ๕๑๕๔)
กิจกรรมรอบปีภายในวัด